Quantcast
Channel: ความหมายคำ คืออะไร
Viewing all articles
Browse latest Browse all 307

กลไกของการพิสูจน์ตัวตน (Authentication mechanisms (ออเทนทิเคชั่น เมค'คะนิสซึม))

$
0
0

กลไกของการพิสูจน์ตัวตน (Authentication mechanisms (ออเทนทิเคชั่น เมค'คะนิสซึม))

ภาพประกอบบทความกลไกของการพิสูจน์ตัวตน
ภาพประกอบบทความกลไกของการพิสูจน์ตัวตน

          การพิสูจน์ตัวตน คือ ขั้นตอนการยืนยันความถูกต้องของหลักฐานที่แสดงว่าเป็นตัวตนเราจริงๆ เช่น ข้อมูลบัตรประชาชน หากใช่ตัวตนเราจริงๆ ก็อาจจะมีระบบที่สอบถามหมายเลขหลังบัตร ซึ่งในส่วนนี้น้อยคนนักที่จะจดจำ เป็นต้น สำหรับบทความนี้จะอธิบายเกี่ยวกับกลไกการพิสูจน์ตัวตนว่ามีกลไกอย่างไร และแต่ละขั้นนั้นมีลักษณะเป็นอย่างไร

กลไกของการพิสูจน์ตัวตน (Authentication mechanisms) สามารถแบ่งออกได้เป็น 3 คุณลักษณะ คือ

  1. สิ่งที่คุณมี (Possession factor (พอสเซสชั่น เฟคเตอร์)) เช่น กุญแจหรือเครดิตการ์ด เป็นต้น
  2. สิ่งที่คุณรู้ (Knowledge factor (นอล-เอ็จ เฟคเตอร์)) เช่น รหัสผ่าน (passwords) หรือการใช้พิน (PINs (พิน)) เป็นต้น
  3. สิ่งที่คุณเป็น (Biometric factor (ไบโอเมคติก เฟคเตอร์)) เช่น ลายนิ้วมือ รูปแบบเรตินา (retinal patterns (เรตินอล แพลตเทน)) หรือใช้รูปแบบเสียง (voice patterns (ว๊อย แพลตเทน)) เป็นต้น

         กระบวนการพิสูจน์ตัวตนนั้นจะนำ 3 ลักษณะข้างต้นมาใช้ในการยืนยันหลักฐาน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับระบบ, วิธีการที่นำมาใช้เพียงลักษณะอย่างใดอย่างหนึ่ง (Single-factor authentication (ซิงเกิล เฟคเตอร์ ออเทนธิเคชั่น)) นั้นมีข้อจำกัดในการใช้หรือไม่ ตัวอย่างเช่น สิ่งที่คุณมี (Possession factor) นั้นอาจจะสูญหายหรือถูกขโมยได้ สิ่งที่คุณรู้ (Knowledge factor) อาจจะถูกดักฟัง, เดา หรือขโมยจากเครื่องคอมพิวเตอร์ สิ่งที่คุณเป็น (Biometric factor) จัดได้ว่าเป็นวิธีที่มีความปลอดภัยสูงอย่างไรก็ตามการที่จะใช้เทคโนโลยีนี้ได้นั้นจำเป็นต้องมีการลงทุนที่สูง เป็นต้น

         ดังนั้นจึงได้มีการนำแต่ละคุณลักษณะมาใช้ร่วมกัน (multi-factor authentication (มัลติ เฟคเตอร์ ออเทนธิเคชั่น)) ตัวอย่างเช่น ใช้สิ่งที่คุณมีกับสิ่งที่คุณรู้มาใช้ร่วมกัน เช่น การใช้ลายมือชื่อร่วมกับการใช้บัตรเครดิตหรือการใช้รหัสผ่านร่วมกับการใช้บัตร ATM (เอทีเอ็ม) เป็นต้น การนำแต่ละลักษณะของการพิสูจน์ตัวตนมาใช้ร่วมกันมากกว่า 1 ลักษณะ จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการรักษาความปลอดภัยของข้อมูล


Viewing all articles
Browse latest Browse all 307

Trending Articles