VLAN (วีแลน) คืออะไร

ก่อนอื่นต้องรู้จักระบบ{--mlinkarticle=2222--} LAN (แลน){--mlinkarticle--} ก่อนเพื่อความเข้าใจระบบ VLAN (วีแลน) ได้ง่ายขึ้น ระบบ LAN ย่อมาจาก Local Area Network (ลอคอล แอเรีย เน็ตเวิร์ก) คือ{--mlinkarticle=2221--}ระบบเครือข่าย{--mlinkarticle--} ที่เชื่อมต่อคอมพิวเตอร์เข้าด้วยกันในระยะจำกัด เช่น ภาคในอาคาร บริเวณเดียวกัน หรือในพื้นที่เดียวกัน อาจจะเชื่อมต่อด้วยอุปกรณ์ SWITCH (สวิตซ์), BRIDGE (บิต) หรือ {--mlinkarticle=3594--}HUB (ฮับ){--mlinkarticle--} เป็นต้น
หากในระบบ LAN 1 วง มีการเชื่อมต่ออุปกรณ์ที่มากขึ้นเรื่อย ๆ มีผลเกิดให้ระบบทำงานช้า จนถึงบางครั้งก็ทำงานไม่ได้เลย สาเหตุหลัก ๆ เกิดจากการส่งข้อมูล Broadcast (บอร์ดแคช) ของอุปกรณ์ เป็นการส่งให้อุปกรณ์ทุก ๆ เครื่องในวง LAN (แลน) เดียวกันได้รับ
การ Broadcast (บอร์ดแคช) หรือ กระจายของสัญญาณ คือพอมีการส่งข้อมูลเยอะมาก ๆ ย่อมรบกวนกัน ทำให้หลาย ๆ ครั้งคอมพิวเตอร์ก็สื่อสารกันไม่ได้ หรือ หาก คอมพิวเตอร์ติดไวรัส ก็มีโอกาสแพร่ไวรัสกระจายกระทบไปทั้งวงแลนเดียวกัน
VLAN (วีแลน) อย่ามากจาก Virtual LAN (เวอชวล แลน) คือ การแยกการเชื่อมต่อเครือข่ายคอมพิวเตอร์เป็นส่วน ๆ เป็นการแบ่งกลุ่มของเครื่องคอมพิวเตอร์ปลายทางออกเป็นกลุ่มย่อย ๆ คืออยู่ LAN (แลน) เดียวกัน แต่สามารถสื่อสารกันได้เฉพาะเครื่องในกลุ่มของตนที่อยู่ภายใน VLAN เดียวกันเท่านั้น
VLAN (วีแลน) เป็นความสามารถของอุปกรณ์สวิตช์ที่สามารถกำหนดขอบเขตของ Broadcast Domain บน Layer 2 หมายความว่า บน Switch 1 ตัว สามารถแยก broadcast domain ได้หลายๆ วง หรือ แยก subnet ได้นั่นเอง เช่น จากภาพด้านบน จะแบ่ง VLAN ออกเป็น 2 วงใน switch A ซึ่งแผนก Engineering สามารถสื่อสารกันได้ แต่ไม่สามารถข้ามไปสื่อสารกับแผนก Marketing ได้
ประโยชน์ที่ได้รับจากการสร้างและแบ่ง VLAN (วีแลน)
- จำกัดขอบเขตการแพร่กระจายของบรอดคาสต์ทราฟฟิกไม่ให้ส่งผลกระทบต่อประสิทธิภาพโดยรวมของเน็ตเวิร์ก
- ระบบสามารถรองรับการขยายตัวในอนาคตได้โดยง่าย
- สามารถสร้างกลไกด้านความปลอดภัยได้ง่ายขึ้น เพราะแต่ละ VLAN (วีแลน) ไม่สามารถสื่อสารกันได้
- มีความยืดหยุ่นในการใช้งาน เพียงแค่เปลี่ยน config (คอนฟิก) บน port (พอร์ต) ของ switch (สวิตซ์) ให้อยู่ภายใน VLAN (วีแลน) กำหนด โดยไม่ต้องไปย้ายสาย
อ้างอิง
ninehua.com
http://netprime-system.com