เศรษฐกิจ คือ การเกิดกิจกรรมทาง{--mlinkarticle=5649--}ธุรกิจ{--mlinkarticle--} ได้แก่ การผลิต การบริโภค และการจำหน่ายและการบริการ และทั้ง 3 กิจกรรมนี้ทำให้เกิด{--mlinkarticle=8856--}รายได้ของประชากร{--mlinkarticle--}อีกด้วยและมีผลต่อ GDP ด้วยและ GDP (Gross Domestic product) หรือ ผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศ คือ {--mlinkarticle=8149--}มูลค่า{--mlinkarticle--}ของระบบเศรษฐกิจทั้งหมดของประเทศนั้น ๆ เป็นการดูที่เกิดขึ้นจากในประเทศเท่านั้น และแสดงถึงมูลค่าทางการเงินรวมของสินค้าและบริการขั้นสุดท้ายทั้งหมดที่ผลิต (และขายในตลาด) ภายในประเทศในช่วงระยะเวลาหนึ่ง (โดยทั่วไปคือ 1 ปี)

วัตถุประสงค์ของ GDP
GDP เป็นตัวชี้วัดที่ใช้กันมากที่สุดของกิจกรรมทางเศรษฐกิจ
แนวคิดพื้นฐานแรกของ GDP ถูกคิดค้นขึ้นเมื่อปลายศตวรรษที่ 18 แนวคิดสมัยใหม่ได้รับการพัฒนาโดยนักเศรษฐศาสตร์ชาวอเมริกัน Simon Kuznets ในปี 1934 และนํามาใช้เป็นตัวชี้วัดหลักของเศรษฐกิจของประเทศในการประชุม Bretton Woods ในปี 1944
การคำนวณ GDP จะมี 3 วิธีด้วยกัน ได้แก่
- ด้านรายได้: เป็นการคำนวณ GDP โดยการรวมรายได้ประเภทต่าง ๆ ที่บุคคลได้รับในฐานะเป็นเจ้าของปัจจัยการผลิตในรอบระยะเวลาใดเวลาหนึ่ง
- ด้านรายจ่าย: เป็นการคำนวณ GDP โดยการนำรายจ่ายของครัวเรือนในการซื้อสินค้าและบริการขั้นสุดท้ายรวมกันในระยะเวลา 1 ปี
- ด้านผลผลิต: เป็นการคำนวณ GDP โดยการรวมมูลค่าเพิ่มที่เกิดขึ้นในระบบเศรษฐกิจจะเป็นตัววัดมูลค่าของสินค้าและบริการ
สูตรการคํานวณ GDP ด้วยวิธีการใช้จ่ายมีดังต่อไปนี้
สูตรคำนวณก็มี ดังนี้
GDP = การบริโภคภาคเอกชน + การลงทุนภาคเอกชนขั้นต้น + การลงทุนของรัฐบาล + การใช้จ่ายของรัฐบาล + (การส่งออก – การนําเข้า)
หรือ
GDP = C + I + G + (X – M)
ซึ่งในสูตรของ GDP จะมีองค์ประกอบและความหมาย ดังนี้
C = Consumption คือ การบริโภคของภาคเอกชนและประชาชน เป็นการจับจ่ายใช้สอยทั่วไป เช่น ค่าอาหาร สาธาณูปโภค เป็นต้น
I = Investment คือ การลงทุนของภาคเอกชน เช่น การก่อสร้างถนนทางเดิน รถไฟฟ้า และอื่น
G = Government Spending คือ การใช้จ่ายของรัฐบาล หรือ การลงทุนภาครัฐ ตามนโยบายต่าง ๆ ที่
X = Export คือ การส่งออก (ขายสินค้าให้กับต่างประเทศ)
M = Import คือ การนำเข้า (รับสินค้าจากต่างประเทศเข้ามาในประเทศไทย)
อัตราการเติบโตของ GDP
อัตราการเติบโตของ GDP จะวัดเปอร์เซ็นต์การเปลี่ยนแปลงของ GDP จริง (GDP ที่ปรับตามอัตราเงินเฟ้อ) จากช่วงเวลาหนึ่งไปกช่วงเวลาหนึ่ง ซึ่งโดยทั่วไปจะเป็นการเปรียบเทียบระหว่างไตรมาสหรือปีล่าสุดกับไตรมาสก่อนหน้า มันอาจเป็นจํานวนบวกหรือลบ (อัตราการเติบโตติดลบบ่งบอกถึงการหดตัวทางเศรษฐกิจ) สามารถดูเพิ่มเติมได้ที่ GDP Annual Growth Rate
ค่า GDP เป็นบวก และลบ คืออะไร
ค่า GDP เป็นบวก คือ ภาพรวมเศรษฐกิจที่มีการเติบโตขึ้น มีเม็ดเงินหมุนเวียนในประเทศมากขึ้น และผลลัพธ์ตามมาก็คือ อัตราเงินเฟ้อที่จะสูงขึ้นได้ เพราะเมื่อผู้คนมีความต้องการซื้อกันมากขึ้น สามารถทำให้ราคาสินค้าและบริการเพิ่มขึ้นมาได้ แต่ตัวสินค้ามีปริมาณเท่าเดิม
ส่วน ค่า GDP เป็นลบ คือ ภาพรวมเศรษฐกิจที่มีการชะลอตัวเอง และมีเม็ดเงินหมุนเวียนในประเทศลดลง จะส่งไม่ว่าด้านเศรษฐกิจของประเทศ ด้านธุรกิจ และด้านอื่น ๆ
GDP ต่อหัว
GDP ต่อหัวคํานวณโดยการหาร GDP ที่ระบุด้วยประชากรทั้งหมดของประเทศ เป็นการแสดงออกถึงผลผลิตทางเศรษฐกิจเฉลี่ย (หรือรายได้) ต่อคนในประเทศ จํานวนประชากรคือประชากรเฉลี่ย (หรือกลางปี) สําหรับปีเดียวกับตัวเลข GDP สามารถดูเพิ่มเติมได้ที่ GDP per Capita
สรปุคือ GDP จะเป็นค่าใช้วัดการเติบโตของเศรษฐกิจ ถ้าประเทศไหนมีการเติบโตของเศรษฐกิจดี และถ้า{--mlinkarticle=1891--}การลงทุน{--mlinkarticle--}จากภาครัฐและเอกชน รวมถึงการส่งออกที่ดี ก็จะทำให้ GDP เพิ่มขึ้น ในทางกลับกัน หากมี{--mlinkarticle=4258--}การนำเข้า{--mlinkarticle--}ที่เยอะ แต่มีการใช้จ่ายและลงทุนภายในประเทศน้อย ก็อาจทำให้ GDP ติดลบได้ โดยทั่วไป หาก GDP เป็นบวก หมายถึงประเทศมีการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ดี มีการลงทุนสูง
อ้างอิง :
GDP คืออะไร ,[ออนไลน์], เข้าถึงได้จาก https://www.economiafinanzas.com/th/que-es-el-pib/
มาเข้าใจคำว่า GDP กันดีกว่า ,[ออนไลน์], เข้าถึงได้จาก https://www.businesssoft.com/blog/?p=1872
What Is GDP, and Why Is It Important? ,[ออนไลน์], เข้าถึงได้จาก https://www.stlouisfed.org/open-vault/2019/march/what-is-gdp-why-important