Prototype คือการแปลงไอเดียให้เป็นรูปเป็นร่างอย่างง่ายสุด ถูกสุด เร็วสุด ให้เป็นต้นแบบไปทดสอบกับกลุ่มคนที่เราคิดว่าจะเป็นกลุ่มเป้าหมายสำหรับผู้ใช้งาน หรือลูกค้าของเรา {--mlinkarticle=6928--}prototype{--mlinkarticle--} เป็นแบบจำลองเพื่อเก็บข้อเสนอแนะจากผู้ใช้งานก่อนการสร้างสินค้าจริง หลักการของ Prototype เกิดจากแนวคิดที่ว่ากิจการตั้งต้นมีทรัพยากรจำกัด นอกจากหลักการเเล้วยังมีแนวทางการพัฒนา Prototype คือพัฒนาต้นแบบว่าเป็นไปได้หรือไม่ และเพื่อ{--mlinkarticle=7132--}ทดสอบ{--mlinkarticle--}กับกลุ่มเป้าหมายว่ายังไม่ได้ทำออกมาจำหน่าย เพราะต้องรับข้อเสนอเเนะจากกลุ่มเป้าหมายหรือ{--mlinkarticle=1901--}ลูกค้า{--mlinkarticle--}ก่อนเมื่อรับข้อเสนอเเนะแล้วนำมาปรับปรุงต้นแบบจนสมบูรณ์
ภาพประกอบการร่างเเนวคิด Prototype
ทำไมถึงต้องทำ Prototype
- ปัญหาหนึ่งที่สตาร์ทอัพเจอคือมีไอเดียมากมายที่อยากจะทำให้เกิดขึ้นดังนั้นการทำ Prototyping หรือการสร้างแบบจำลองจึงเปรียบเสมือนการหาคำตอบให้กับคำถามนี้จากนั้นค่อยนำสิ่งที่ทดสอบแล้วมาพัฒนาต่อยอดให้สินค้าของคุณนั้นดียิ่งขึ้นนอกเหนือจากนั้นการมี Prototype ก็ยังช่วยลดปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นระหว่างการทำสตาร์ทอัพอีกด้วย
- Prototype ช่วยให้เข้าใจผู้ใช้อย่างแท้จริงและรอบด้านหากเราไม่ทำต้นเเบบเเล้วเราใช้เวลาในการพัฒนานานเมื่อผลออกมาเเล้วผู้ใช้งานไม่ชอบจะทำให้คุณเสียเวลา เเละเสียกำลังใจในการทำ
- การสร้าง Prototype ช่วยลดความเสี่ยงในการเสียเงินจำนวนมหาศาลไปพัฒนาสินค้าหรือบริการที่ไม่รู้จะตอบโจทย์ผู้ใช้หรือไม่การสร้าง Prototype แบบง่ายจะช่วยให้เราสามารถคาดการณ์ได้ว่าสินค้าหรือบริการที่คิดกันไว้ได้ผลหรือไม่ได้ผลในส่วนนี้จะช่วยให้เราได้ไหวตัวทันและพัฒนาสินค้าให้โดนใจกลุ่มเป้าหมายมากขึ้น
- เพื่อใช้เป็นเครื่องมือที่ทำให้รู้ถึงความต้องการของผู้ใช้ให้ชัดเจนมากขึ้นทำให้เราทำงานได้ไวขึ้นเเละมีเวลามากพอในการพัฒนาสินค้า
- เพื่อใช้ในการตรวจสอบความเป็นไปได้ของการออกแบบระบบให้เห็นถึงผลกระทบของระบบที่ออกแบบและหาทางเลือกใหม่เพื่อแก้ไขผลกระทบนั้น
- เพื่อใช้เป็นตัวแทนระบบที่ได้ออกแบบ ให้ผู้ใช้ได้ทดลองใช้งานเเละให้นักวิเคราะห์ได้ประมาณเวลาและสิ่งที่ออกแบบต่อ
หลักการสร้าง Prototype
- Build (สร้างต้นแบบ)
เลือกวิธีที่จะสร้างต้นแบบอย่างง่ายขึ้นมาโดยเลือกทำจากฟังก์ชันที่สำคัญที่สุดและอย่าทำหลายอย่างจนซับซ้อนเกินไป เราสามารถสร้าง prototype ที่แตกต่างกันเพื่อทดสอบฟังก์ชันที่แตกต่างกันในแต่ละครั้งได้ โดยก่อนจะสร้าง Prototype เราต้องมีสมมุติฐานในใจก่อน
ตัวอย่างการสร้าง Prototype - Test (ทดสอบกับผู้ใช้)
เมื่อตั้งสมมติฐานและสร้างต้นแบบเสร็จแล้วเราต้องหากลุ่มที่จะมาเป็นผู้ทดสอบต้นแบบของเรา
ตัวอย่าง
กิจกรรมทดสอบต้นแบบนวัตกรรม Active Play ณ บ้านพักต้ารวจคิม ซอยเจริญกรุง 36
ภายใต้งานเทศกาลออกแบบกรุงเทพฯ (Bangkok Design Week 2018) ระหว่างวันที่ 27 มกราคม – 4 กุมภาพันธ์ 2561ได้มีโรงเรียนและชุมชนเข้าร่วมกิจกรรมทังหมด จ้านวน 140 คน ได้แก่
- โรงเรียนวัดม่วงแค จ้านวน 14 คน
- โรงเรียนวัดสวนพลู จ้านวน 60 คน
- ชุมชนฮารูณ จ้านวน 20 คน
- ชุมชนโปลิศสภา จ้านวน 9 คน
- Learn (เรียนรู้)
การเรียนรู้คือการเรียนรู้จากผู้อื่นเเละเปิดในรับฟังความคิดเห็นเพื่อให้ได้ข้อคิดหลายรูปเเบบแล้วนำข้อมูลกลับมาวิเคราะห์ว่าเราได้เรียนรู้อะไรจากการทดสอบครั้งนี้บ้าง คนชอบเเละไม่ชอบอะไร มีอะไรที่เราต้องเพิ่มเติมให้เราทำการหมวหมู่ตามข้อเสนอแนะแล้วจัดอันดับว่าผู้ใช้พูดถึงเรื่องอะไรมากที่สุด - Iterate (ทำซ้ำ)
ทำซ้ำ : ทำซ้ำในรูปเเบบที่ดีอยู่เเล้วเเละจำรูปเเบบเพื่อปรับใช้ในรูปเเบบหม่ที่เราทำในครั้งหน้า
ทำให้ดีขึ้น : ศึกษาวิธีการทำในรูปเเบบต่างๆเพื่อนำมาเป็นเเบบอย่างเเละพัฒนาตัวเองให้ดีขึ้น
เปลี่ยนแปลง : สังเกตุในผลงานตนเองถ้ามีสิ่งไหนไม่ตอบโขทย์ต่อลูกค้าให้เราเปลี่ยนรูปเเบบใหม่
การทำ Prototype มีประโยชน์มากมายเเละผู้คนมากมายสำเร็จจากการทำ Prototype วิธีนี้จะช่วยให้คุณประหยัดเวลาเเละทำให้เราคาดการณ์ผลได้ไวว่ามีสิ่งไหนที่ทำเเล้วต้องเเก้หรือล้มเหลวทำให้เราได้{--mlinkarticle=4824--}พัฒนา{--mlinkarticle--}ได้ไวขึ้นเเละเเก้ไขปัญหาตามจุดต่างๆได้ไวขึ้น อีกทั้งยังช่วยให้เราประหยัดค่าใช้จ่ายได้มหาสาร หลักการทำ Prototype ควรเริ่มจาก การสร้าง Prototype ที่มี 4 ขั้นตอนด้วยกัน ได้แก่ Build (สร้างต้นแบบ) , Test (ทดสอบกับผู้ใช้) , Learn (เรียนรู้) เเละ Iterate (ทำซ้ำ) การทำต้นเเบบควรเลือกวิธีที่ค่าใช้จ่ายต่ำที่สุดและง่ายต่อสำหรับการเรียนรู้หรือคุณสามารถใช้ดินสอวาดมันขึ้นมาแล้วถ่ายรูปไว้เป็น Prototype หรืออีกตัวเลือกเวลาคุณอยากทำ Prototype ในการทำแอปพลิเคชันคือ Popapp การที่เราเสียเวลาในการมาทำขั้นตอนเเบบ Prototype จะทำให้ผลที่คุณได้รับคุ้มค่ากับ{--mlinkarticle=8251--}เวลา{--mlinkarticle--}ที่เสียไปเเน่นอนเพราะการทำเเบบนี้เป็นการทำเเบบเเผนขั้นตอนทำให้คุณประสบความสำเร็จเเละรู้จุดผิดพลาดมากที่สุด
ข้อมูลอ้างอิง
[Prototype] คืออะไร ? มาหัดทำด้วย FluidUI.com กันเถอะ ,[ออนไลน์], เข้าถึงได้จากhttps://medium.com/jed-ng/prototype-
Prototype : วิธีแปลงไอเดียให้เป็นรูปเป็นร่างแบบติดจรวด ,[ออนไลน์], เข้าถึงได้จาก https://www.schoolofchangemakers.com/knowledge/15264/
รวม 10 เทคนิคการทำ Prototype ให้ Startup ของคุณ Test ตลาดได้ว่องไว ,[ออนไลน์], เข้าถึงได้จาก https://techsauce.co/tech-and-biz/10-prototyping-techniques-keynote-techsaucesummit