รู้จัก 2D Barcode
{--mlinkarticle=2013--}Barcode{--mlinkarticle--} แบบธรรมดาหรือBarcode 1 มิติ (One-Dimension Barcode) ก็คือ สัญลักษณ์แบบแท่ง มีความหนาบางต่างกัน โดย มีเส้นแนวตั้งที่มีขนาดที่ต่างกัน วางอยู่บนพื้นที่ขาวสลับกัน Bar Code แบบนี้ทำไว้เพื่อ บรรจุข้อมูลที่ต่างกันไม่เกิน 20 ตัวอักษร เป็นการเรียกข้อมูลจากฐานข้อมูลอีกต่อหนึ่ง เหมือนข้อมูลสินค้านั่นเอง
Barcode 2 มิติ (Two-Dimensional Barcode) เป็นรูปแบบหนึ่งของ Barcode พัฒนามาจาก bar code 1 มิติ ที่เพิ่มแนวนอน เข้ามาทำให้บรรจุข้อมูลเพิ่มขึ้นเป็น 4000 ตัวอักษรหรือ 200 เท่าในพื้นที่เท่ากันหรือเล็กกว่า คิดค้นขึ้นในปี 1994 โดยบริษัทสัญชาติญี่ปุ่น Denso-Wave และได้จดทะเบียนลิขสิทธิ์ชื่อ QR Code ไปแล้วทั้งในญี่ปุ่นและทั่วโลก อันเป็นนวัตกรรม Barcode ที่มีการตอบสนองที่รวดเร็ว ซึ่งมาจากความตั้งใจของผู้คิดค้น ที่จะให้ QR Code นี้สามารถถูกอ่านได้อย่างรวดเร็วนั่นเอง แม้กระทั่งการอ่านจากโทรศัพท์มือถือข้อมูลสามารถบรรจุอักขระได้ทั้งข้อความ ตัวเลข และสัญลักษณ์มากกว่า Barcode ปกติ และสามารถใช้ได้หลายภาษาอีกด้วย และยังเป็นบาร์โค้ด 2 มิติสามารถถอดรหัสได้แม้ภาพบาร์โค้ดบางส่วนมีการเสียหาย
สามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภท

1. บาร์โค้ดแบบสแต็ก (Stacked Barcode)
บาร์โค้ดแบบสแต็กมีลักษณะคล้ายกับการนำบาร์โค้ด 1 มิติมาวางซ้อนกันหลายแถว มีการทำงานโดยอ่านภาพถ่ายบาร์โค้ดแล้วปรับความกว้างของบาร์โค้ดก่อนทำการถอดรหัส ซึ่งการปรับความกว้างนี้ทำให้สามารถถอดรหัสจากภาพที่เสียหายบางส่วนได้ โดยส่วนที่เสียหายนั้นต้องไม่เสียหายเกินขีดจำกัดหนึ่งที่กำหนดไว้ การอ่านบาร์โค้ดแบบสแต็กสามารถอ่านได้ทิศทางเดียว เช่น อ่านจากทางซ้ายไปขวาหรือทางขวาไปซ้าย และอ่านจากด้านบนลงล่างหรือจากด้านล่างขึ้นบน เป็นต้น

2. บาร์โค้ดแบบเมตริกซ์ (Matrix Barcode)
บาร์โค้ดแบบเมตริกซ์มีลักษณะหลากหลายและมีความเป็นสองมิติมากกว่าบาร์โค้ดแบบสต็กที่เหมือนนำบาร์โค้ด 1 มิติไปซ้อนกัน ลักษณะเด่นของบาร์โค้ดแบบเมตริกซ์คือมีรูปแบบค้นหา (Finder Pattern) ทำหน้าที่เป็นตัวอ้างอิงตำแหน่งในการอ่านและถอดรหัสข้อมูล ช่วยให้อ่านข้อมูลได้รวดเร็วและสามารถอ่านบาร์โค้ดได้แม้บาร์โค้ดเอียง หมุน หรือกลับหัว
2.1 บาร์โค้ดแบบ Data Matrix ถูกพัฒนาโดยบริษัท RVSI Acuity CiMatrix ประเทศสหรัฐอเมริกาเมื่อปี 2532 ลักษณะ Barcode มีทั้งรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสซึ่งมีโมดูลข้อมูลระหว่าง 10 x 10 ถึง 144 x 144 และสี่เหลี่ยมผืนผ้ามี 8 x 8 ถึง 16 x 48 โมดูล Data Matrix สามารถบรรจุข้อมูลได้มากที่สุด 3,116 ตัวเลขหรือ 2,355 ตัวอักษร แต่สำหรับข้อมูลประเภทอื่น ได้แก่ ข้อมูลเลขฐานสองบรรจุได้ 1,556 ไบต์ (1 ไบต์เท่ากับเลขฐานสอง 8 หลัก) และตัวอักษรภาษาญี่ปุ่นบรรจุได้ 778 ตัวอักษร รูปแบบค้นหาของ Barcode แบบ Data Matrix อยู่ที่ตำแหน่งขอบซ้ายและด้านล่างของ Barcode ส่วนใหญ่ใช้ในงานที่มีพื้นที่จำกัด
2.2 บาร์โค้ดแบบ QR Code (Quick Response Code) เป็น Barcode 2 มิติแบบเมตริกซ์ที่ถูกพัฒนาขึ้นโดยบริษัท Nippon Denso ประเทศญี่ปุ่นในปี 2537 ลักษณะของ Barcode เป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส มีโมดูลข้อมูล 21×21 ถึง 177×177 โมดูล สามารถบรรจุข้อมูลได้มากที่สุด 7,089 ตัวเลข หรือ 4,296 ตัวอักษร ข้อมูลเลขฐานสอง 2,953 ไบต์ และตัวอักษรญี่ป่น 1,817 ตัวอักษร รูปแบบค้นหาของ QR Code อยู่ที่มุมทั้งสามของ Barcode คือ มุมซ้ายบน มุมซ้ายล่าง และมุมขวาบน ส่วนใหญ่ใช้ในงานที่ต้องการบรรจุข้อมูลจำนวนมากลงใน Barcode และต้องการอ่านข้อมูลจาก Barcode อย่างรวดเร็ว
2.3 บาร์โค้ดแบบ MaxiCode เป็น Barcode 2 มิติแบบเมตริกซ์ ซึ่งพัฒนาโดยบริษัท Oniplanar และนำไปใช้โดยบริษัทขนส่ง UPS (United Parcel Service) ประเทศสหรัฐอเมริกาในปี 2530 ลักษณะ Barcode เป็นรูปสี่เหลี่ยมขนาด 1.11 x 1.054 นิ้ว ส่วนแทนรหัสข้อมูลมีลักษณะเป็นรูปหกเหลี่ยมทั้งหมด 866 โมดูล เรียงตัวกันใน 33 แถวรอบรูปแบบค้นหา ซึ่งรูปแบบค้นหาของ MaxiCode มีลักษณะเป็นวงกลมซ้อนกันสามวงอยู่กลาง Barcode MaxiCode สามารถบรรจุข้อมูลได้ 138 ตัวเลขหรือ 93 ตัวอักษร Barcode ชนิดนี้ถูกออกแบบให้สามารถอ่านได้อย่างรวดเร็ว จึงนำไปประยุกต์ใช้กับงานที่ต้องการความเร็วในการอ่านสูงเป็นส่วนใหญ่
เรื่องที่เกี่ยวข้อง
1. Barcode
3. ข่าวสารไอที
อ้างอิง : www.appdisqus.com