Network Function Virtualization
หรือเรียกสั้นๆว่า NFV คือการทำให้บริการเครือข่ายเป็นแบบเสมือน และสร้างให้มันเป็นจริงขึ้นมาด้วยฮาร์ดแวร์

Network Function Virtualization เริ่มใช้ในช่วงแรกโดยกลุ่มผู้ผลิตและจำหน่ายอุปกรณ์โทรคมนาคมที่ต้องการคนควบคุมการให้บริการ{--mlinkarticle=2221--}ระบบเครือข่าย{--mlinkarticle--}ของตนแก่ลูกค้าให้เป็นไปโดยง่ายขึ้น ความคิดพื้นฐานของ NFV คือ การทำให้บริการเครือข่ายเป็นแบบเสมือน และสร้างให้มันเป็นจริงขึ้นมาด้วย{--mlinkarticle=4046--}ฮาร์ดแวร์{--mlinkarticle--}สำหรับใช้งานเฉพาะทาง การใช้งาน NFV โดยทั่วไปจะใช้เซิร์ฟเวอร์ทั่วๆไปในการรัน{--mlinkarticle=4975--}ซอฟต์แวร์{--mlinkarticle--}เวอร์ชั่นต่างๆ ของการบริการเครือข่ายที่เมื่อก่อนอาศัยฮาร์ดแวร์เป็นพื้นฐาน บริการที่ใช้ซอฟต์แวร์เป็นพื้นฐานเหล่านี้มีชื่อเรียกว่า Virtual Network Function (VNF) และจะทำงานในสภาพแวดล้อมแบบ NFV
ความสามารถของ NFV
คือการ Virtualized ความสามารถต่างๆ ของระบบเครือข่ายขึ้นมา เพื่อให้การติดตั้งใช้งานองค์ประกอบต่างๆ ของระบบเครือข่ายที่เดิมเคยต้องเป็นฮาร์ดแวร์มาก่อนนั้น สามารถทำได้อย่างรวดเร็วยืดหยุ่นยิ่งขึ้นด้วยการนำเทคโนโลยี Virtualization มาใช้ เหมือนที่เราทำกับ Server ในที่ผ่านๆ มา ตัวอย่างที่เห็นได้ค่อนข้างชัดเจนคือการสร้าง Virtual Machine ของ Router, Firewall, Load Balancer และ WAN Optimizer ขึ้นมาใช้งานนั่นเอง
ดังนั้นการนำ NFV มาใช้ในวงการโทรคมนาคมนี้ ก็จะช่วยเพิ่มความยืดหยุ่นในการให้บริการโครงข่ายเป็นอย่างมากโดย AT&T สามารถบริหารจัดการกับ Data Center กว่า 1,000 โซนทั่วโลกจากศูนย์กลางผ่านระบบ Cloud ของ OpenStack เพื่อสร้างองค์ประกอบที่ต้องการให้บริการเครือข่ายขึ้นมาได้ทันที ตามความต้องการของ AT&T และลูกค้า
ข้อมูลอ้างอิง : http://www.ucsbkk.com
https://www.techtalkthai.com